วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559

วิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ E-book




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การใช้ e-book

                                                                                                           

การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ e-book   
   
         E-Book เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ไร้กระดาษที่ปรากฏขึ้นใน Cyberspace
จะมีผลกระทบต่อการผลิตหนังสือกระดาษที่มีมาก่อนมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่นำมาใช้ทำให้เกิดความสะดวกสบาย และความคุ้มค่าในระยะสั้น ระยะยาว และวัฒนธรรมการอ่านจากจอคอมพิวเตอร์สามารถ ทำให้เปลี่ยนไปด้วย
ในรูปแบบ Offline ได้ หรือพิมพ์ก็ได้ 


     E-Book กำลังปฏิวัติรูปแบบการจัดการและการนำเสนอสารสนเทศที่เปลี่ยนไปจากการนำเสนอ
เนื้อหาแบบเดิมและพร้อมๆกับการปฏิวัติ e-Learning รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพของคอมพิวเตอร
คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องอ่าน e- Book (Rocket e-Book Softbook,Microsoft Reader)
e-Book มีคุณลักษณะพิเศษกว่าหนังสือกระดาษหลายประการ อาทิ แสดงผลด้วย
ภาพ ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น ซึ่งสามารถเปิดอ่านเหมือนหนังสือทั่วไป
และพกพาหนังสือจำนวนมากติดตัวไปได้ทุกที่ทุกเวลา สามารถ Download มาไว้ใน
Palm Pilot เปิดออกมาอ่านตามต้องการ และยังสามารถเชื่อมโยงกับข้อความต่างๆ
ภายในตัวหนังสือหรือภายนอกเว็บไซต์อื่นๆ จากอินเทอร์เน็ต ยิ่งกว่านั้นผู้อ่านสามารถ
อ่านพร้อมๆ กันได้โดยไม่ต้องรอการยืมหรือคืน เหมือน หนังสือกระดาษในห้องสมุด 



การใช้งาน e-book

               ลักษณะ e-Book คล้ายการเปิดอ่านหนังสือ คือการพลิกเปิดหน้าหนังสือไปที่ละหน้า
สำหรับข้อแนะนำเบื้องต้น ในการใช้บทเรียนมีดังนี้


1. การเปิดโปรแกรมหนังสือ
          ดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์ DWB.exe รูปไอคอนสีน้ำเงิน หนังสือก็จะดีดขึ้นมาเอง
2. การเปิดหน้าถัดไป
          นำเมาส์ไปวางบริเวณหน้าหนังสือด้านขวา แล้วทำการคลิกเมาส์(เมาส์ซ้าย) 1 ครั้ง จะเป็นการพลิกเปิด หนังสือไปหน้าถัดไป
3. การเปิดหน้าที่ผ่านมา 
          นำเมาส์ไปวางบริเวณหน้าหนังสือด้านซ้าย แล้วทำการคลิกเมาส์(เมาส์ซ้าย) 1 ครั้ง
          จะเป็นการพลิกเปิดหนังสือไปหน้าที่ผ่านมา
4. การเปิดจากหน้าเนื้อหา (สารบัญ) 
          เปิด e-Book ไปหน้าเนื้อหา (สารบัญ) จากนั้นทำการคลิกเมาส์(เมาส์ซ้าย) 1 ครั้ง ณ
          ตำแหน่งหัวข้อเนื้อหา ที่ผู้ใช้ต้องการ e-Book จะทำการพลิกหน้า ไปยังเนื้อหานั้นๆโดยทันที
5. การเชื่อมโยงไปเว็ปไซท์อื่น
       เมื่อเลื่อนเม้าส์ไปที่ข้อความลิงค์จะนูนขึ้นเป็นปุ่มขึ้นมาให้คลิกปุ่มที่มีการเชื่อมโยงได้เลย
6. การปิดหนังสือ
          คลิกปุ่มลิ้งค์ close ด้านล่างขวาของหน้าหนังสือทุกหน้าหรือ นำเม้าส์ไปวางที่บนหน้าหนังสือ
    ที่ว่าง ๆแล้วคลิกขวา ในกล่องข้อความเลือก exit  ก็จะออกจากโปรแกรมทันที


       ลักษณะเด่น ประโยชน์ที่จะได้รับจากนวัตกรรม E-BOOK

1.  ประหยัดต้นทุนในการดำเนินการ
2.  สามารถอยู่ทนทานได้เป็นระยะเวลานาน
3.  ไม่ต้องสต็อคของไว้เป็นจำนวนมากๆ
4.  คุณลักษณะพิเศษกว่าหนังสือกระดาษหลายประการ อาทิ แสดงผลด้วย ภาพ ข้อความ เสียง
      ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น
5.  สามารถเปิดอ่านเหมือนหนังสือทั่วไป และพกพาหนังสือจำนวนมากติดตัวไปได้ทุกที่ ทุกเวลา
      ไม่ต้องใช้อินเตอร์เน็ต ใช้คอมพิวเตอร์ธรรมดาเปิดอ่านได้
6.  ยังสามารถเชื่อมโยงกับข้อความต่างๆ ภายในตัวหนังสือหรือภายนอกเว็บไซต์อื่นๆ จาก                   อินเทอร์เน็ต
7.  ผู้อ่านสามารถอ่านพร้อมๆ กันได้โดยไม่ต้องรอการยืมหรือคืนเหมือนหนังสือกระดาษในห้องสมุด
8.  รูปแบบหนังสือที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล โดยแสดงให้เห็นบนจอคอมพิวเตอร์ไม่บังคับการพิมพ์ และ         การเข้าเล่ม
9.  กำลังพลสามารถ เรียนรู้ เข้าถึงองค์ความรู้ได้สะดวก ทั้งเวลา สถานที่  




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูนเคลื่อนไหว



       

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การสร้างหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์


                          อิเล็กทรอนิกส์ E-book


 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ e-book



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สติช                         จัดทำโดย

                            ด.ญ.กัญจนพร ชูดอนตรอ เลขที่ 14 
                           ด.ญ.ศิวาพร ทรายขาว เลขที่ 24
                                    ด.ญ.รัชนีกร รัตนบุรี เลขที่ 23


หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
 (อังกฤษE-book) เป็นหนังสือหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้อ่านสามารถอ่านผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book reader) ได้

วิวัฒนาการของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

แนวความคิดเกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นภายหลัง ปี ค.ศ. 1940 โดยปรากฏในนวนิยายวิทยาศาสตร์ ต่อมาได้มีการพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยสแกนหนังสือจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้มภาพตัวหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และนำแฟ้มภาพตัวหนังสือมาผ่าน กระบวนการแปลงภาพเป็นข้อความด้วยการทำ OCR (Optical Character Recognition) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อแปลงภาพตัวหนังสือให้เป็นข้อความที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ การถ่ายทอดข้อมูลจะถ่ายทอดผ่านทางแป้นพิมพ์ และประมวลผลออกมาเป็นตัวหนังสือและข้อความด้วยคอมพิวเตอร์ ดังนั้นหน้ากระดาษจึงเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นแฟ้มข้อมูลแทน ทั้งยังมีความสะดวกต่อการเผยแพร่และจัดพิมพ์เป็นเอกสาร (Documents printing) ทำให้รูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยุคแรก ๆ มีลักษณะเป็นเอกสารประเภท .doc .txt .rtf และ .pdf ไฟล์ เมื่อมีการพัฒนาภาษา HTML (Hypertext Markup Language) ข้อมูลต่าง ๆ จึงถูกออกแบบและตกแต่งในรูปของเว็บไซต์ โดยปรากฏในแต่ละหน้าของเว็บไซต์ซึ่งเรียกว่า "web page" ผู้อ่านสามารถเปิดดูเอกสารเหล่านั้นได้ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ (Web browser) ซึ่งเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่สามารถแสดงผลข้อความ ภาพ และการปฏิสัมพันธ์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ต่อมาเมื่ออินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมมากขึ้น บริษัท ไมโครซอฟท์ ได้ผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้คำแนะนำในรูปแบบ HTML Help ขึ้นมา มีรูปแบบของไฟล์เป็น .CHM โดยมีตัวอ่านคือ Microsoft Reader และหลังจากนั้นมีบริษัทผู้ผลิตโปรแกรมคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ได้พัฒนาโปรแกรมจนกระทั่งสามารถผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ออกมาเป็นลักษณะเหมือนกับหนังสือทั่วไป กล่าวคือ สามารถแทรกข้อความ แทรกภาพ จัดหน้าหนังสือได้ตามความต้องการของผู้ผลิต และที่พิเศษกว่านั้นคือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ สามารถสร้างจุดเชื่อมโยงเอกสาร (Hyperlink) ไปยังเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกได้ อีกทั้งยังสามารถแทรกเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ลงไปในหนังสือได้ คุณสมบัติเหล่านี้ไม่สามารถทำได้ในหนังสือทั่วไป

ความแตกต่างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับหนังสือทั่วไป

ความแตกต่างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับหนังสือทั่วไป จะอยู่ที่รูปแบบของการสร้างและการใช้งาน ดังนี้

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์หนังสือทั่วไป
ไม่ใช่กระดาษ ไม่ใช้ต้นไม้ (อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้)ใช้กระดาษ
สามารถสร้างให้มีภาพเคลื่อนไหวได้มีข้อความและภาพประกอบธรรมดา
สามารถใส่เสียงประกอบได้ไม่มีเสียงประกอบ
สามารถแก้ไขและปรับปรุงข้อมูล (update) ได้ง่ายสามารถแก้ไขปรับปรุงได้ยาก
สามารถสร้างจุดเชื่อมโยง (links) ออกไปยังข้อมูลภายนอกได้มีความสมบูรณ์ในตัวเอง
มีต้นทุนในการผลิตหนังสือต่ำมีต้นทุนการผลิตสูง
ไม่มีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์ สามารถทำสำเนาได้ง่ายไม่จำกัดมีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์
สามารถอ่านผ่านคอมพิวเตอร์ และสั่งพิมพ์ผลได้สามารถเปิดอ่านจากเล่ม อ่านได้อย่างเดียว
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 1 เล่ม สามารถอ่านพร้อมกันได้จำนวนมาก (ออนไลน์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต)สามารถอ่านได้ 1 คนต่อหนึ่งเล่ม
สามารถพกพาสะดวกได้ครั้งละจำนวนมากในรูปแบบของไฟล์คอมพิวเตอร์ และสามารถเข้าถึงโดยไม่จำกัดเรื่องสถานที่และเวลาสามารถพกพาลำบาก และต้องเดินทางไปใช้ที่ห้องสมุดและศูนย์สารนิเทศต่าง ๆ
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง อ้างอิงที่ไม่มีชื่อต้องมีเนื้อหา== เทคโนโลยีสำหรับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ == เทคโนโลยีสำหรับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มี 3 ประเภท ดังนี้

ฮาร์ดแวร์

คือ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ นอกจากคอมพิวเตอร์แล้ว ปัจจุบันได้มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีลักษณะที่พกพาได้ มีรูปทรงขนาด และราคาให้เลือกมากขึ้น โดยใช้กับซอฟต์แวร์ที่ใช้อ่านซึ่งสามารถสั่งซื้อ หรือดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต

ซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์ที่ใช้อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

เป็นโปรแกรมที่ใช้อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบที่บริษัทผลิต ส่วนใหญ่จะดาวน์โหลดได้ฟรีจากอินเทอร์เน็ต เช่น อะโดบี รีดเดอร์ (Adobe Reader), Minecraft Sever, Sony Vegas Reader และ DNL Reader เป็นต้น

ซอฟต์แวร์สำหรับสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

Adobe FrameMaker, Adobe PageMaker, Adobe InDesign, Adobe Acrobat, Adobe Acrobat Capture, The Read in Microsoft Reader add-in for Microsoft Word, The Palm Ebook, Studio authoring tool, DesktopAuthor, FlipAlbum http://www.slideshare.net/P0nGNaTeE/4-Tool

การจัดการซอฟต์แวร์

เป็นโปรแกรมที่ใช้จัดการควบคุมระบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น Adobe Content Server 3, Microsoft Digital Asset Server, Palm, Retail Encryption Server Software เป็นต้น

แนวโน้มของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในอนาคต

ยุคการอ่านหนังสือจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกกันว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้รับความนิยมอย่างมากในต่างประเทศ เนื่องจากการแพร่หลายของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถพกพาไปได้สะดวก อาทิ พ็อคเก็ต พีซี (Pocket PC) ปาล์ม โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ส่วนในประเทศไทยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมมากขึ้นในอนาคตเช่นกัน เพราะเนื่องมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ทำให้การเข้าถึงสื่อสารนิเทศประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกและรวดเร็วทันต่อความต้องการของผู้ใช้จากทั่วโลก โดยผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อาจกล่าวได้ว่าในทุกวันนี้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้รับความสนใจของผู้คนทั่วไปในทุกสาขาอาชีพโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่มีอาชีพเกี่ยวข้องกับหนังสือ เช่น บรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ นักจดหมายเหตุผู้จัดพิมพ์หนังสือ หรืออาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสารนิเทศ เป็นต้น ส่วนบริษัทผู้จัดจำหน่ายฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้แต่หวังให้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ราคาถูกลง เพราะหากเป็นอย่างนั้น ก็จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้อ่านจะหันมาสนใจอ่านหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น อย่างไรก็ตามไม่สามารถคาดเดาได้ว่า ในอนาคตตลาดของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะเป็นเช่นไร หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะแทนที่หนังสือตัวเล่มได้หรือไม่ เมื่อไร และจะสามารถเอาชนะใจหนอนหนังสือทั้งหลายได้หรือไม่ แต่ขึ้นอยู่กับพัฒนาการหรือการคิดค้นรูปแบบใหม่และการแก้ปัญหาเกี่ยวกับความสะดวกในการอ่านให้มากขึ้น การที่จะทำให้นักอ่านทั้งหลายเล็งเห็นถึงสิ่งที่น่าสนใจในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น คงต้องใช้เวลาในการยอมรับพอสมควร

บรรณารักษ์เป็นผู้ที่ต้องปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรสารนิเทศทุกประเภท หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับบรรณารักษ์ที่จะนำมาให้บริการ แต่การจะให้ผู้อ่านยอมรับการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้หนังสือฉบับพิมพ์ บรรณารักษ์จำเป็นต้องทำให้ผู้อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เกิดความรู้สึกเหมือนกับการอ่านหนังสือฉบับพิมพ์ แต่มีความสะดวกสบายในการอ่านมากกว่า

ปัญหาของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

ปัญหาของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ในประเด็นสำคัญ 3 ประการ คือ

มาตรฐานการผลิต

กล่าวคือเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ตลอดจนถึงการแปลงข้อมูลต่าง ๆ ล้วนมีผลต่อการผลิตเนื้อหา (Content) ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อย่างมาก เนื่องจากจะต้องมีความสามารถในการแลกเปลี่ยนแฟ้มข้อมูล ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาแก่ห้องสมุดในกรณีที่ห้องสมุดดำเนินการจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เอง และดำเนินการจัดซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เข้ามาให้บริการแก่สมาชิก

มาตรฐานการจัดจำหน่ายของผู้ผลิต

ได้แก่ ปัญหาทางด้านราคาที่ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตแต่ละรายที่ใช้เทคโนโลยีที่ต่างชนิดกัน ปัญหาการสืบค้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ย้อนหลังและวารสารอิเล็กทรอนิกส์ย้อนหลัง ซึ่งอาจมีผลต่อการจัดซื้อสิ่งพิมพ์อีก 1 ชุดเพื่อเย็บรวมเล่มหรือไม่ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนกระทบต่อการตัดสินใจในการจัดซื้อ และการเตรียมงบประมาณในปีถัดไป

ลิขสิทธิ์ของเจ้าของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และสิทธิ์ผู้ใช้

ในปัจจุบันยังไม่สามารถหาข้อสรุปในประเด็นนี้ได้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีที่ห้องสมุดจัดซื้อจัดหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำมาให้บริการแก่ผู้ใช้ เช่น การกำหนดสิทธิ์ผู้สามารถใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ การอ้างอิง เป็นต้น